อำนาจหน้าที่

 

altอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลalt
อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แยกออกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่

heartตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้heart
๑.กิจการที่ อบต.มีหน้าที่ต้องทำในเขต ดังนี้
๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
๑/๑ รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน ที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๕) จัดการ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรมและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือการสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
๖)ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๙)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
 
๒.กิจการที่ อบต. อาจจัดทำในเขต อบต. ดังนี้
๑)ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
๒)ให้มีการบำรุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๓)ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
๔)ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวยสาธารณะ
๕)ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
๖)ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
๗)บำรุงและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
๘)การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๙)หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
๑๐)ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
๑๑)กิจการเกี่ยวกับพาริชย์
๑๒)การท่องเที่ยว
๑๓)การผังเมือง
 
heartอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมheart
     นอกจากอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แล้ว อบต. ยังมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม
ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตน ตามมาตรา ๑๖ แห่ง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ดังนี้
๑)การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๒)การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๓)การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
๔)การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
๕)การสาธารณูปการ
๖)การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ
๗)การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
๘)การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๙)การจัดการศึกษา
๑๐)การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
๑๑)การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
๑๒)การปรับปรุงแหล่งชุมฃนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓)การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔)การส่งเสริมการกีฬา
๑๕)การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๖)การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๑๗)การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๑๘)การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
๑๙)การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
๒๐)การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนกิจสถาน
๒๑)การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๒๒)การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๓)การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสถานสาธารณะอื่นๆ
๒๔)การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๒๕)การผังเมือง
๒๖)การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
๒๗)การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๒๘)การควบคุมอาคาร
๒๙)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๓๐)การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและการสนับสนุน การป้องกันรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓๑)กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น


altการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น อบต.alt

-เพื่อใช้บังคับในเขต อบต. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฏหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ของ อบต. หรือเมื่อที่กฎหมายกำหนดให้ อบต. ออกข้อบัญญัติในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ
และกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดดทษปรับเกินหนึ่งพัดบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายไว้เป็นอย่างอื่น
-ร่างข้อบัญญัติ อบต. จะเสนอได้โดย นายก อบต. หรือสมาชิก อบต. หรือราษฎรในเขตอบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

altการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ของ อบต.alt
 
-ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินปลการปฏิบัติงาน
และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
 
alt

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese



นายสราวุธ คุ้มบือ
นายก อบต.บางโตนด

เบอร์โทร 098-848-1567











































 





















QR Code
อบต.บางโตนด

 




ลิขสิทธิ์ © 2555 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โทร 0-3247-1280